9 เรื่องที่ PB_Thesis 1
  ประเภท Program base
  ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวของสถาบันในการผลิตนักศึกษา หลักสูตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข ทันตาภิบาลและเจ้าพนักงานเภสัชกรรมของวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
  ชื่อผู้แต่ง วงเดือน จินดาวัฒนะ
  ที่มา วิทยานิพนธ์, สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2535
  ปีที่ทำ 1 ตุลาคม 2533 – 30 กันยายน 2534
  บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวของสถาบันในการผลิตนักศึกษาหลักสูตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข ทันตาภิบาล และเจ้าพนักงานเภสัชกรรมของวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น โดยการทำการเก็บข้อมูลย้อมหลังในปีงบประมาณ 2534 ( 1 ตุลาคม 2533 - 30 กันยายน 2534) หน่วยต้นทุนภายในวิทยาลัยกำหนดเป็น 7 หน่วยต้นทุน ตามโครงสร้างการบริหารงานของวิทยาลัยฯและมีการกระจายต้นทุนตามเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยต้นทุนรวมงานธุรการกระจายไปยังฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาและ 5 ภาควิชา ใช้เกณฑ์ร้อยละ 70 กระจายตามจำนวนคนและร้อยละ 30 กระจายตามค่าใช้จ่ายหมวดวัสดุตอบแทนใช้สอยของแต่ละฝ่าย/ภาควิชา ต้นทุนรวมจากฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการศึกษากระจายไปยังนักศึกษาใช้เกณฑ์วัน - นักศึกษา และต้นทุนรวมจากภาควิชากระจายไปยังนักศึกษาใช้ Effective credit ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องสมองกล (Computer) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จ Lotus 123

ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนรวมของภาควิชาทันตาภิบาลสูงสุด เท่ากับ 6,953,797 บาท งานธุรการรองลงมา เท่ากับ 3,716,917 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับฝ่ายพัฒนาและส่งเสิมการศึษา เท่ากับ 3,065,344 บาท ต้นทุนรวมของภาควิชาสาธารณสุขชุมชน ภาควิชาเภสัชกรรม ภาควิชาบริหารสาธารณสุข และภาควิชาพื้นฐาน เท่ากับ 1,838,712 , 656,007 , 534,630 และ 474,058 บาท ตามลำดับ

อัตราส่วนค่าแรง ต่อค่าวัสดุ ต่อค่าเสื่อมราคา ของต้นทุนต่อหัวนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจนจบการศึกษา พบว่า หลักสูตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข เท่า 6 : 2.5 : 1.5 หลักสูตรทันตาภิบาล เท่า 3: 2 : 5 และหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรม เท่ากับ 6 : 3 : 1

ต้นทุนต่อหัวของสถาบันในการผลิตนักศึกษาจนจบแต่ละหลักสูตร พบว่านักศึกษาทันตาภิบาลมีต้นทุนต่อหัวสูงสุด เท่ากับ 156,883 บาท นักศึกษาเจ้าพนักงานเภสัชกรรมรองลงมา เท่ากับ 60,580 บาท และนักศึกษาหลักสูตรเจ้าพนักงานสาธารณสุขต่ำที่สุด เท่ากับ 40,697 บาท

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้เสนอแนะข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มค่าบำรุงการศึกษา การวางแผนการผลิต และการผลิตเพื่อภาคเอกชน

  วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic Research) โดยทำการศึกษาต้นทุนรวมของแต่ละหน่วยต้นทุน ต้นทุนต่อหัวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและต้นทุนต่อหัวของสถาบันในการผลิตนักศึกษาทั้ง 3 หลักสูตรของวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2534 เป็นระยะเวลาการศึกษาทั้งสิ้น 1 ปี โดยทำการศึกษาย้อยหลัง
  วิธีคิดค่าเสื่อมราคา การคำนวณค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างทุกชนิด โดยวิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง(Straight-line Method) และปรับให้เป็นมูลค่า
ในปี 2534คือเฉลี่ยค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปีตลอดอายุการใช้งานของครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างแต่ละรายการยกเว้นรายการที่มีอายุใช้งานเกิน
อายุที่คาดว่าจะใช้งานได้ หรือรายการที่ไม่สามารถประมาณวันเดือนปีที่รับได้ จะไม่นำมาคำนวณค่าเสื่อมราคา

ครุภัณฑ์ทุกชนิดกำหนดอายุใช้งาน 5 ปี คิดค่าเสื่อมราคา 5% ต่อปี(ประมวลรัษฎากร ฉบับที่145 ข้อ1) โดยค่าเสื่อมราคาสิ่งก่อสร้างของหน่วยต้นทุนต่างๆคิดตามสัดส่วนพื้นที่ใช้งานของหน่วยต้นทุนนั้นต่อพื้นที่ทั้งหมดของอาคารนั้นๆ

จากนั้นหาค่าเสื่อมราคาโดยปรับให้เป็นมูลค่าปี 2534 ทั้งครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง โดยคำนวณจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งวิธีการหาอัตราเงินเฟ้อ ทำได้โดยครุภัณฑ์ใช้อัตราเงินเฟ้อของดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลของปี 2534 เทียบกับปีฐาน 2529 ส่วนสิ่งก่อสร้างใช้อัตราเงินเฟ้อของดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หมวดเคหสถาน ปี 2534 เทียบกับปีฐาน 2514

  วิธีการกระจายต้นทุน เกณฑ์กระจายต้นทุนของหน่วยต้นทุน จะแตกต่างกันไปตามลักษณะหน้าที่ของหน่วยต้นทุน(ซึ่งจะไม่รายงานในที่นี้)

การหาต้นทุนทั้งหมด (Full cost) เมื่อได้ต้นทุนรวมโดยตรงและเกณฑ์การกระจายต้นทุนของแต่ละหน่วยต้นทุนแล้ว ก็ใช้วิธีการจัดสรรต้นทุนแบบ
Step down Method ไปยังหน่วยรับต้นทุน (Absorbing Cost Centre : ACC) เป็นต้นทุนทางอ้อม(Indirect cost) ของนักศึกษาหลักสูตรต่างๆและผู้เข้ารับการอบรม

  ผลการศึกษา  

ตารางสัดส่วนของต้นทุนค่าแรง(Labour cost) ,ค่าวัสดุ (Material Cost),ค่าเสื่อมราคา(Depreciation Cost) จำแนกตามนักศึกษาแต่ละหลักสูตร

Cost

Unit cost/ปี

เงินอุดหนุนนศ./ปี

รวมเงิน

Unit cost

หลักสูตร

จำนวนนศ.

Labour

Material

Depreciation

/รายunit cost

อุดหนุน นศ.

จนจบหลักสูตร

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

396

7,446.68

3707.88

2088.21

13,242.77

7,200.00

20,442.77

40,885.54

ทันตภิบาล

141

21,420.81

15,201.12

35,503.59

72,125.52

7,200.00

79,325.52

158,651.04

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

96

13,952.64

7,436.78

1857.93

23,247.35

7,200.00

30,447.35

60,894.70

การอบรมต่าง ๆ

N/A

427.03

159.20

108.05

694.28

-

694.28

รวม

633

43,247.16

26,504.98

39,557.78

109,309.92

** หลักสูตรการศึกษา 2 ปี

home.gif (2465 bytes)