เรื่องที่ Pb7
ประเภท Program base
ชื่อเรื่อง การศึกษาต้นทุน – ประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นเปรียบเทียบกับระบบมาตรฐาน
ชื่อผู้แต่ง ภิรมย์ กมลรัตนกุล, บรรเทา อื้อกุล, บัณฑิต ชุณหสวัสดิกุล, อนุชา จิตตินันท์, ศุภมิตร ชุณห์สิทธิวัฒน์, พรเทพ ศิริวนารังสรรค์,
ประชา เชี่ยววิทย์ และคณะ
ที่มา รายงานการวิจัย, โดยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข(ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก USAID)และ
ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ปีที่ทำ เดือนมกราคม 2530 ถึงเดือนกันยายน 2531
บทคัดย่อ วัณโรคยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหาหลักในการรักษาโรคนี้ด้วยระบบยามาตรฐานก็คือ
ความสม่ำเสมอในการรักษา เพราะใช้เวลาในการรักษานานเกินไปและปัญหาจากภาวะแทรกซ้อนจากยา thiacetazone นับตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา กองวัณโรคได้พัฒนาระบบยาระยะสั้นขึ้นมา 3 ระบบในการรักษา ภายใต้แนวความคิดว่า อัตราความ
สม่ำเสมอในการรักษาจะดีกว่าระบบมาตรฐาน เพราะร่นระยะเวลาในการรักษาให้ สั้นลง จึงน่าจะเป็นการประหยัดทั้งเวลาค่าเดินทาง
ค่าอาหาร และอื่น ๆ รวมทั้งลดโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นอีกด้วย แตาระบบยาระยะสั้นมีราคาที่แพงกว่า ดังนั้น การวิจัยนี้ต้องการ
วิเคราะห์ถึงต้นทุน - ประสิทธิผลของยารักษาวัณโรคทั้ง 4 ระบบที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ ระบบยาระยะสั้น 3 ระบบเปรียบเทียบ

กับระบบมาตรฐาน จากการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะจำนวน 1,642 รายที่มารับการบริการที่ศูนย์
วัณโรคเขตทั้ง 5 แห่งทั่วประเทศระหว่างเดือนมกราคม 2530 ถึงเดือนกันยายน 2531 พบว่า ระบบยาระยะสั้นมีประสิทธิผล
(efficacy & effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ดีกว่า ระบบยามาตรฐานอย่างชัดเจนทั้งในทัศนะของกองวํณโรคและ
ในทัศนะของคนไข้เอง โดยยาที่มีประสิทธิผลดีที่สุดคือ ระบบยาระยะสั้นที่ใช้ izoniazid + rifampicin + pyrazinamide เป็นเวลา
2 เดือนแล้วตามด้วย izoniazid และ rifampicin อีก 4 เดือน ส่วนยาที่มีต้นทุน - ประสิทธิผลต่ำสุด คือ ระบบยาระยะสั้นที่ให้
izoniazid + rifampicin + pyrazinamide 2 เดือน ตามด้วย isoniazid และ rifampicin อาทิตย์ละ 2 ครั้ง อีก 4 เดือนทั้งในสายตา
ของกองวัณโรคและสายตาของคนไข้ จากการศึกษานี้ จึงพอสรุปได้ว่าสมควรจะมีการทบทวนนโยบายการเลือกใช้ยารักษาผู้ป่วย
วัณโรคในประเทศไทยเพื่อให้สามารถนำทรัพยากร
ที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนโดยส่วนรวม

วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) จากผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทั้งหมดที่ตรวจพบเชื้อวัณโรคที่ศูนย์วัณโรคเขตทั้ง 5 แห่ง
(กทม.,ชลบุรี,นครสวรรค์,อุบลราชธานีและนครศรีธรรมราช) ระหว่างเดือนมกราคม 2530 ถึงเดือนกันยายน 2531 เป็นเวลา 21 เดือน
โดยศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้น 3 ระบบ(2 HRZ/4 HR, 2 SHRZ/6 HT และ 2 HRZ/4 H2R2 ) และที่ได้
รับยาระบบมาตรฐาน 1 ระบบ(2 SHT/16 HT)

การคำนวณต้นทุนในการให้บริการรักษาผู้ป่วยวัณโรคของยาแต่ละระบบที่ศูนย์วัณโรคจะประกอบด้วยต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการ
ตรวจรักษาเป็นพิเศษเฉพาะอย่างของยาแต่ละระบบ(Medical care cost) ซึ่งจะต่างกันออกไป ผลรวมชองต้นทุนทั้งหมดจะเท่ากับ ต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการ(Total provider costs) ของยาแต่ละระบบ

การคำนวณค่าใช้จ่ายในการมารับบริการวัณโรคของคนไข้จะได้จากการสัมภาษณ์คนไข้ที่มารับรับบริการที่ศูนย์วัณโรคเขตทั้ง 5 แห่งซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายโดยตรง และค่าใช้จ่ายทางอ้อม

วิธีคิดค่าเสื่อมราคา
  • ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ – ใช้ Estimated Useful Lives of Depreciable Hospital Assets, 1978 โดย American Hospital
    Association โดยการคำนวณค่าเสื่อมราคาต่อเดือน จะใช้ Straight- line คือ ค่าเสื่อมราคาเท่ากันตลอดอายุการใช้งาน
    ของครุภัณฑ์แต่ละชิ้น
  • ค่าเสื่อมราคาสิ่งก่อสร้าง – กำหนดอายุการใช้งานเป็น 20 ปี การประมวลผลค่าเสื่อมราคาต่อเดือนของหน่วยต้นทุนจะคำนวณตามสัดส่วนพื้นที่ที่ใช้งานจริงของหน่วยต้นทุนนั้น
    ต่อพื้นที่ทั้งหมดของอาคาร
วิธีการกระจายต้นทุน Direct Allocation method
ผลการศึกษา  

ตาราง PROVIDER COSTS ; OVERHEAD COSTS (รวม 4 ศูนย์เขต) (ม.ค. 30 - ก.ย. 31)

ศูนย์เขต 3 ศูนย์เขต 7 ศูนย์เขต 8 ศูนย์เขต 11 รวม

%

Costs (ชลบุรี) (อุบล ฯ) (นครสวรรค์) (นครศรีฯ)
1. Labour costs

5,320,871.00

4,383,666.50

4,258,481.00

4,387,495.00

18,350,513.50

87.79%

2. Material costs

837,146.50

319,076.52

253,168.01

378,814.48

1,788,205.51

8.55%

3. Capital Costs

463,374.27

11,134.18

193,616.19

96,125.14

764,249.78

3.66%

Total

6,624,391.77

4,713,877.20

4,705,265.20

4,862,434.62

20,902,968.79

100%

ตารางTotal Provider Costs

Regiments Routine Service Costs

Sputum Examintion

Costs

Chest x-ray

Examintation Costs

Drug Costs

Total costs

2 SHT/16 HT(18 visits)

2,066.40

12.40

31.90

512.28

2,622.98

2 HRZ/4HR(7 visits)

803.60

10.85

15.95

1,078.74

1,909.14

2SHRZ/ 6 HT(9 visits)

1,033.20

13.95

15.95

1,000.02

2,063.12

2 HRZ/ 4H2R2(7 visits)

803.60

10.85

15.95

785.10

1,615.00

ตารางแสดงการเปรียบเทียบ Total Provider Costs ของยาแต่ละระบบใน 5 ศูนย์เขตฯ

ศูนย์ Regiments

2 SHT/16 HT

2 HRZ/4HR

2SHRZ/ 6 HT

2 HRZ/ 4H2R2

สถานตรวจโรคปอด กรุงเทพฯ -

-

-

-

-

ศูนย์เขต 3 ชลบุรี)

2,393.48

1,819.89

1,948.37

1,526.25

ศูนย์เขต 7 (อุบลราชธานี)

2,236.16

1,758.71

1,869.71

1,465.07

ศูนย์เขต 8 (นครสวรรค์)

3,471.14

2,238.98

2,487.20

1,945.34

ศูนย์เขต 11(นครศรีธรรมราช)

2,809.64

1,981.73

2,156.45

1,688.09

พิสัย 2236.16-3471.14 1758.71-2238.98 1470.11-2087.60 1465.07-1945.34
เฉลี่ย

2,727.61

1,949.83

1,715.83

1,656.19

ตารางแสดงต้นทุน-ประสิทธิผลของยาระบบต่าง ๆ ในสายตาผู้ให้บริการ

ระบบยา

ต้นทุน/ประสิทธิผล

1. 2SHT/16HT

5498.91

2. 2HRZ/4HR

2037.5

3. 2SHRZ/6HT

2401.77

4. 2HRZ/4H2R2

1930.11

home.gif (2465 bytes)