เรื่องที่ | Pb4 | |
ประเภท | Hospital base | |
ชื่อเรื่อง | การใช้เครื่องสลายนิ่วในประเทศไทย ประสิทธิภาพและความเสมอภาค | |
ชื่อผู้แต่ง | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สุกัลยา คงสวัสดิ์, พินทุสร เหมพิสุทธิ์, นวลอนันต์ ตันติเกตุ, งามจิตต์ จันทรสาธิต, วงเดือน จินดา วัฒนะ | |
ที่มา | หนังสือชุดวิจัยระบบสาธารณสุข
เล่มที่ 4
สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข,
การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุน จากองค์การอนามัยโลกประจำปี 2536 |
|
ปีที่ทำ | ปี 2535 | |
บทคัดย่อ | การศึกษาการใช้เครื่องสลายนิ่วในประเทศไทยนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลข้อมูลทางด้านการเงิน
เพื่อคำนวณต้นทุนการให้บริการ พฤติกรรมของต้นทุน อัตราการคืนทุน ปริมาณบริการจริง (ผลิตภาพ) และปริมาณบริการ ณ จุดคุ้มทุน รวมทั้งลักษณะการจัดบริการ ค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ป่วย ลักษณะของผู้ป่วยที่ใช้บริการ เพศ อายุ ภูมิลำเนาและสถานะการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพื่อนำมาประมวลและ วิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่า หน่วยสลายนิ่วต่าง ๆ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมสำคัญ 2 ประการ คือ ประสิทธิภาพและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการได้อย่างไร หรือ ไม่ ในปี 2537
ประเทศไทยมีเครื่องสลายนิ่ว 28
เครื่อง อยู่ในกรุงเทพ 11 เครื่อง (39
%ของทั้งหมด)อยู่ในภาคอีสาน 10
เครื่อง (36 %) ต้นทุนต่อรายในการให้บริการสูงกว่ารายได้สุทธิต่อรายในหน่วยสลายนิ่วทุกหน่วย
ยกเว้นในกรณีของหน่วยสลายนิ่วในโรงพยาบาลรามาธิบดี
ซึ่งบริษัทเอกชนเป็นเจ้าของและให้โรงดพยาบาลรามาธิบดีเช่า
หน่วยสลายนิ่วของโรงพยาบาลรามาธิบดีมีประสิทธิภาพสูงกว่า
โดยวัดในด้าน การวิเคราะห์พบว่า ในภาพรวมแล้ว หน่วยสลายนิ่วให้บริการผู้ป่วยที่สามารถจ่ายเงินเองได้ค่อนข้างสูง ( 38 % ของตัวอย่างทั้งหมด) รองลงมาเป็นผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ( 35 %) การให้บริการฟรีแก่ผู้ถือบัตรสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยมีเพียง 18 % ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขภาคอีสาน เป็นผู้ป่วยสังคมสงเคราะห์เพียง 5 % พอสรุปได้ว่า คนจนและผู้มีบัตรสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าดถึงและใช้บริการเครื่องสลายนิ่วได้ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่จ่ายเงินเอง และผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการและบุคคลในครอบครัว เป็นปัญหาเชิงความเสมอภาคของการจัดบริการสลายนิ่ว โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลทหารผ่านศึกษเป็นกรณีตัวอย่างของความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยสลายนิ่ว ซึ่งผู้กำหนดนโยบายควรจะได้ศึกษาโดยละเอียด เพื่อหาจุดดีและจุดอ่อน ในการพัฒนานโยบายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ข้อค้นพบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัวของกระทรวง ผู้วิจัยมีข้อเสนอ แนะที่สำคัญ คือ
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่น การเช่าเครื่องจากเอกชน การให้เอกชนบริหารจะต้องเป็นไปบนพื้นฐานของความร่วมมือกันและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเสมอภาค และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงและการใช้บริการของผู้ป่วยที่ไม่สามารถจ่ายเงินได้ |
|
วิธีการศึกษา | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยย้อนหลังในหลายสถาบัน
(Retrospective multi-centre
studies)โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเอง
โดยใช้แบบสัมภาษณ์หัวหน้าหน่วยสลายนิ่วทุกหน่วย(Interview
questionaire) และการวิจัยจากเอกสาร(Documents
research)
โดยศึกษาในหน่วยสลายนิ่วทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศที่กำลังจัดบริการในปี
2535 การศึกษาต้นทุนในการวิจัยนี้ เป็น view point ของหน่วยสลายนิ่ว(Provider costs) และไม่ได้รวมต้นทุนทางอ้อม(Indirect cost) ที่หน่วยงานอื่นๆในโรงพยาบาลให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยสลายนิ่ว(Overhead cost) |
|
วิธีคิดค่าเสื่อมราคา | ค่าเสื่อมราคาของเครื่องสลายนิ่ว
และส่วนควบของเครื่องสลายนิ่ว
ใช้สูตร Capital depreciation cost = historical cost / annualisation factor
โดยใช้อัตราลด (Discount rate) 10%
และอายุการใช้งานของเครื่องสลายนิ่วเป็น
5 ปี
(อ้างอิงจากรายงานของสมาคมโรงพยาบาลอเมริกัน-
American Hospital Association 1988) ค่าเสื่อมราคาไม่ได้นำค่าที่ดิน ค่าอาคารมาวิเคราะห์ |
|
วิธีการกระจายต้นทุน | N/A | |
ผลการศึกษา |
สัดส่วนค่าแรง ต่อ ค่าวัสดุ ต่อ ค่าลงทุน, ต้นทุนต่อหน่วยบริการ. จำนวนหน่วยบริการของหน่วยงาน, วันป่วยเฉลี่ย
ตารางแสดงต้นทุนพฤติกรรมต้นทุนและรายได้ เรียงต้นทุนต่อรายจากต่ำที่สุดไปสูงที่สุด
LC |
MC |
CC |
ต้นทุนต่อราย |
รายได้ต่อราย |
|
กรุงเทพมหานคร | |||||
|
10 |
3 |
87 |
10,913 |
16,600 |
|
6 |
0 |
94 |
19,994 |
7,671 |
|
5 |
1 |
94 |
24,606 |
21,557 |
|
4 |
20 |
76 |
33,366 |
12,580(ต่อครั้ง) |
|
2 |
17 |
81 |
34,716 |
8,588 |
|
2 |
5 |
93 |
62,662 |
20,891 |
|
3 |
5 |
92 |
120,879 |
16,499 |
ส่วนภูมิภาค | |||||
|
1 |
11 |
88 |
22,034 |
11,755 |
|
3 |
9 |
88 |
40,332 |
n/a |
|
4 |
8 |
88 |
40,781 |
8,156 |
|
2 |
7 |
91 |
41,845 |
9,686 |
|
2 |
9 |
90 |
45,586 |
13,991 |
ตารางแสดงปริมาณบริการรายเดือนของหน่วยสลายนิ่วแต่ละแห่ง
จำนวน | จำนวน | จำนวน | |
ผู้ป่วยทั้งหมด | เดือนที่ศึกษา | ผู้ป่วยต่อเดือน | |
กรุงเทพมหานคร | |||
|
950 |
48 |
19.80 |
|
2,355 |
51 |
46.20 |
|
270 |
19 |
14.20 |
|
1,538 |
56 |
27.50 |
|
148 |
25 |
5.90 |
|
167 |
22 |
7.60 |
|
1,427 |
66 |
21.60 |
ส่วนภูมิภาค | |||
|
660 |
37 |
17.80 |
|
588 |
32 |
18.40 |
|
537 |
31 |
17.30 |
|
457 |
30 |
15.20 |
|
529 |
22 |
24.00 |
รวม 12 หน่วย | 9,626 |
439 |
21.90 |